วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

"ส้มแก้ว" ของดีเมืองแม่กลอง ผลไม้ขึ้นชื่อต้องช่วยกันอนุรักษ์



บนเนื้อที่ 48,429 ไร่ ของ อ.บางคนที หนึ่งใน 3 อำเภอของจังหวัดสมุทรสงคราม มีราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรทำสวนมะพร้าวสวนส้มโอและลิ้นจี่กันเป็นจำนวนมาก แต่หลายคนยังไม่เคยรู้ว่าที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของ ส้มแก้ว ส้มอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะโดดเด่นไม่แพ้ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ และลิ้นจี่ที่จัดเป็นผลไม้พื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของ จ.สมุทรสงคราม
"ส้มแก้ว” ถือเป็นผลผลิตที่เกิดจากทรัพย์ในดินของ อ.บางคนที่ และอัมพวา อย่างแท้จริง เนื่องจากสภาพดินเป็นดินเหนียวปนร่วน ที่เกิดจากกระแสน้ำที่พัดพาตะกอนของน้ำเหนือมาทับถมในพื้นที่ บวกกับสภาพน้ำที่จืดสนิท จึงทำให้มีธาตุอินทรีย์วัตถุอุดมสมบูรณ์ต่างจากสภาพดินในเขตพื้นที่ อ.เมือง และจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย อ.บางคนที และอัมพวา จึงถือเป็นต้นกำเนิดส้มแก้วพันธุ์ดีแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.บางสะแก และโรงหีบ อ.บางคนที ต.แควอ้อม ต.บางแค อ.อัมพวา ส้มแก้วของทั้งสองอำเภอ จะเจริญเติบโตให้ผลผลิตดก ใหญ่ และน้ำหนักดีกว่าการนำกิ่งพันธุ์ส้มแก้วไปเพาะปลูกในจังหวัดอื่นซึ่งไม่ได้ผล และบางรายแม้จะมีผลผลิตแต่รสชาดความอร่อยและขนาดของผลก็ไม่เหมือนส้มแก้วใน อ.บางคนที และอัมพวา แต่น่าเสียดายที่ในอดีตเกษตรกรปลูกส้มแก้วไว้เพียงเป็นพืชแซมในสวนเท่านั้น มีน้อยรายที่ปลูกแบบจริงจัง ส้มแก้วจึงหาดูและหาซื้อได้ยากในปัจจุบัน นายพงษ์ศิษฐ์ คลังศิริ อายุ 48 ปี ชาวตำบลบางสะแก อ.บางคนที กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่บนเนื้อที่กว่า 3 ไร่ ของตนได้ผลิกฟื้นให้เป็นพื้นที่เกษตรผสมผสานด้วยการปลูกส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ ผสมกับลิ้นจี่ และส้มแก้ว โดยเห็นว่าส้มแก้วชอบสภาพอากาศเย็นที่มีร่มเงาไม้หนาปรกคลุมสำหรับส้มแก้วนั้นจะเก็บผลผลิตได้ประมาณช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. ของทุกปี ซึ่งส้มแก้วที่แก่จัดจะมีผิวสีเหลืองทองทั่วทั้งผล โดยส้มแก้ว 1 ต้นจะให้ผลผลิตประมาณ 200-1,000 ลูกเลยทีเดียว แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่และความแข็งแรงสมบูรณ์ของต้น ส่งนราคาจำหน่ายนั้นหากขายส่งหน้าสวนจะจำหน่ายในราคาส่งกิโลกรัมละ 30 บาท โดยพ่อค้าคนกลางจะมารับซื้อกันถึงหน้าสวนเพื่อนำไปจำหน่ายต่อกันที่ตลาดทั้งใน จ.สมุทรสงคราม ตลาดดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี และตลาดกลางในกรุงเทพมหานคร ซึ่งราคาของส้มแก้วจะขยับขึ้นสูงถึงกิโลกรัมละ 70 -120 บาท โดยส้มแก้วที่น้ำหนักดีดีก็จะตกประมาณ 2-3 ลูกต่อกิโลกรัม และจากการปลูกส้มแก้วสามารถสร้างรายได้ให้กับตนและครอบครัว ถึงปีละประมาณ 50,000-100,000 แสนบาทต่อปีด้วยลักษณะเด่นของผลส้มแก้วที่มีคุณภาพผลใหญ่น้ำหนักดี ประกอบกับผิวส้มที่มีสีเหลืองทอง และมีรสชาดหวานอมเปรี้ยว กลีบใหญ่น้ำเยอะ ทำให้ผู้บริโภคนิยมนำมาคั้นเป็นน้ำส้มสดๆ ใส่เกลือป่นและน้ำตาลเพียงเล็กน้อย แต่ได้คุณภาพของวิตามินซีคับแก้วมาดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกายกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ในชาวไทยเชื้อสายจีนยังเชื้อว่า ส้มแก้วเป็นผลไม้มงคลจึงนิยมนำส้มแก้วมาขึ้นหิ้งเซ่นไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในช่วงเทศกาลต่างๆ และถึงแม้ว่า ส้มแก้วจะให้ผลผลิตและราคาดี แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายคะเพราะนับวันเกษตรกรไม่ค่อยให้ความสนใจในการเพาะปลูกส้มแก้วมากนัก เพราะเห็นว่าส้มแก้วเป็นพืชที่ให้ผลเพียงหนึ่งครั้งต่อปี และยังต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องปุ๋ยอาหารเสริม ตลอดจนเรื่องโรค แมลงมากกว่า ส้มโอที่ให้ผลผลิตมากกว่า 4 ครั้งต่อปี อีกทั้งการปลูกส้มแก้วยังมีต้นทุนสูงในการจ้างแรงงานห่อต่อผลถึง70สตางค์ทำให้เกษตรกรหลายรายเริ่มท้อถอยนายวันชัย คนงาม นักวิชาการสำนักงานเกษตร จ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายที่เกษตรกรในพื้นที่ อ.บางคนที และอัมพวา เริ่มเกิดความรู้สึกย่อท้อและปลูกส้มแก้วกันน้อยลง เนื่องจากเกรงว่า จะขาดทุนจากค่าแรงงานที่สูงและการดูแลรักษายาก โดยทางสำนักงานเกษตร จ.สมุทรสงคราม ได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรที่ปลูกส้มแก้ว ด้วยการให้คำปรึกษา พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกส้มแก้วกันอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อรักษาสายพันธุ์ส้มแก้วไม่ให้สูญพันธุ์และให้อยู่คู่กับถิ่นกำเนิดต่อไปหากผู้ที่มีความต้องการจะชิมลิ้มรส ส้มแก้ว ของดีเมืองแม่กลอง ในขณะนี้ส้มแก้วกำลังออกผลิตผลเต็มที่ มีจำหน่ายในตลาดผลไม้ในตัวเมืองแม่กลอง และตามตลาดนัดเปิดท้ายต่างๆ ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยว หรือร้านค้าบริเวณริมถนนพระราม 2 ถนนสมุทรสงคราม – บางแพ ถนนสายแม่กลอง –บางนกแขวก และถนนเลียมริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก ในเขตพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม หลายท่านเคยลองลิ้มชิมรสอร่อยของส้มโอ และลิ้นจี่ ของดีเมืองแม่กลองจนติดใจมาแล้ว ลองชิมรสส้มแก้ว ดูบ้างแล้วจะรู้นี่ก็คือผลม้ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของ จ.สมุทรสงคราม


ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า


วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ส้มชนิดต่างๆ


มะกรูด (C. hystrix DC.)
มะนาว (C. aurantifolia Swing.)
เลมอน (C. limon Linn.)
ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.)
ส้มเกลี้ยง, ส้มเช้ง (C. sinensis Osb.)
ส้มเขียวหวาน, ส้มจุก, ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco)
ส้มจี๊ด ส้มซ่า (C. aurantium Linn.)
ส้มโอ (C. grandis Osb. หรือ C. maxima)
ส้มโอมือ หรือ ส้มมือ (C. medica)
อ้างอิง
- เอกสารวิชาการศัตรูพืชกักกันพืชที่สำคัญของส้ม สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ 2547 ,

คุณค่าทางอาหารของส้มเขียวหวาน 100 กรัม

มีสารอาหาร ดังนี้
คาร์โบไฮเดรต 9.90 กรัม
โปรตีน 0.60 กรัม
ไขมัน 0.20 กรัม
แคลเซียม 31 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.80 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 18.00 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 4000 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินซี 18.00 มิลลิกรัม
เส้นใย 0.02 กรัม
ความชื้น 88.70 กรัม
แคลอรี 44 หน่วย

การแบ่งกลุ่มของส้ม

ส้มเป็นพืชอยู่ในตระกูล Rutaceae สกุล Citrus สำหรับประเทศไทย มีการจำแนกพืชตระกูลส้ม พบว่าตระกูลย่อยที่สำคัญที่สุด คือ ตระกุลย่อยของส้ม ซึ่งประกอบด้วยส้มชนิดต่าง ๆ มะขวิด มะตูม และส้มสามใบ อย่างไรก็ดี พืชตระกุลย่อยนี้ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มส้มเกลี้ยงและส้มตรา (Orange group) แบ่งเป็นส้มที่มีรสหวาน (Sweet Orange: Citrus sinensis) และส้มทีมีรสเปรี้ยว หรืออาจมีรสออกขม (Sour or Bitter Orange: Citrus aurantium)
กลุ่มส้มจีน ส้มเขียวหวาน (Mandarin group) ได้แก่ ซัทซูมา มานดาริน (Satsuma Mandarin:Citrusunshiu) คิงส์ แมนดาริน (King Manderin: Citrus nobilis) เมดิเตอร์เรเนียน แมนดาริน (Mediterranean Mandarin: Citrus delicoia) คอมมอน แมนดาริน (Common Mandarin: Citrus reticulata)
กลุ่มส้มโอ และเกรฟฟรุท (Pummelo and Grapefruits) ได้แก่ ส้มโอ (Pummelo: Citrus maxima) และเกรฟฟรุท (Grapefruits: Citrus paradise)
กลุ่มมะนาว (Common acid member group) ได้แก่ ซิตรอน (Citron: Citrus medica) เลมอนหรือมะนาวฝรั่ง (Citrus lemon)

สายพันธุ์ส้มที่นิยมปลูกในประเทศไทย

ส้มเกลี้ยง (Sweet Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 5-7 เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างทึบ กิ่งก้านแข็งแรง มีหนามขนาดใหญ่ หลังจากปลุกแล้ว 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาร 20 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 7.5-8 เดือน
ส้มเขียวหวาน (Tangerine: C. reticulata) เป็นไม้ผลขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะแน่นทึบ เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ปี ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช่เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มเขียวหวานที่มีอายุ 10 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 150-180 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 8 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
ส้มจุก (Neck Orange: C. nobilis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง เริ่มให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 3 ปี และให้ผลต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ปี ตั้งแต่ออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มจุกที่มีอายุ 5 ปี จะให้ผลผลิตที่มีน้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 5-6 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
ส้มตรา (ส้มเช้ง) (Acidless Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3 เมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ปี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 1 เดือน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ต้นส้มตราที่มีอายุ 5 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 50 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี นำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 6-8 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
ส้มโอ (Pummelo: C. grandis หรือ C. maxima) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 3-7 เมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15-20 ปี นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มที่มีอายุ 8 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 80-100 ผลต่อต้นต่อปี

ส้ม (ผลไม้)

ส้ม เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด
อนุกรมวิธานของส้มนั้น มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด (สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิด, ทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36 ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม ปัจจุบันนี้ มีการใช้เทคนิคในการระบุเอกลักษณ์ด้วยดีเอ็นเอ (DNA) และมีการเสนอว่าอาจจะมีชนิดพื้นฐานของส้มอย่างกว้างๆ 4 ชนิด ด้วยกัน คือ
C. halimii - พบทางภาคใต้ของไทย และตะวันตกของมาเลเซีย อาจเป็นชนิดต้นกำเนิดของส้ม Poncirus และ Fortunella
C. medica - ส้มโอมือ หรือส้มมือ อาจเป็นต้นกำเนิดของมะนาว หรือเลมอน (lemon)
C. reticulata - อาจเป็นต้นกำเนิดของส้มจำพวกส้มเขียวหวานทั้งหลาย
C. maxima (หรือ C. grandis) - ส้มโอ น่าจะเป็นต้นกำเนิดของส้มในปัจจุบันบางชนิดเช่นกัน

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Blog ชาวโลก


อาจารย์บังคับให้เขียนรันทดมากกกกก

เกิดมามีกรรม.....

ชอบเรียนวิชานี้มากกกกกกก